ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผลกระทบโลกร้อน




                                        
                                                            โลก-บ้านหลังงามของมนุษยชาติ
                                                 ภาพจาก http:// viewmix.zenith-sp.net

                     ผลกระทบจากโลกร้อนโดยตรงที่เห็นได้ชัดมากที่สุดคงหนีไปพ้นอุณหภูมิเฉลี่ยของ โลกที่เพิ่มสูงขึ้นพ้องกับชื่อภาวะวิกฤตโลกร้อนนั้นเอง แน่นอนว่าอากาศยิ่งร้อนอบอ้าวเท่าไหร่ มันก็ทำให้เราหงุดหงิดงุ่นง่านพาลทำให้อารมณ์พลุ่งพล่านขึ้นมาได้ง่ายๆ สิ่งที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้  ซึ่งถือว่าเป็นรูปธรรมและถูกนำมากล่าวอ้างทุกครั้งเมื่อพูดถึงสภาวะโลกร้อน คือ การละลายของธารน้ำแข็งที่มีอยู่ทั่วโลก

                     นักวิทยาศาสตร์พบว่าทุกวันนี้ธารน้ำแข็งในพื้นที่ต่างๆได้หลอมละลายลงเป็น จำนวนมากหรืออย่างในบริเวณหลังคาโลกอย่างเทือกเขาหิมาลัยก็ยังโดนผลกระทบตาม มาด้วย  ปัจจุบันพบว่าธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญของผู้คนกว่าสองพันล้านชีวิตกำลังละลายลง อย่างรวดเร็ว และคาดการณ์กันว่า หากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้ ธารนำแข็งแห่งนี้จะละลายหมดไปภายในระยะเวลา 50 ปี ซึ่งผลที่ตามมาคือ ประชากรโลกเกือบครึ่งหนึ่งต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำจืด

                     ผลกระทบจากคลื่นความร้อนก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดจากอุณหภูมิที่เพิ่ม สูงขึ้น แม้นักวิทยศาสตร์บ้างกลุ่มจะตั้งข้อสังเกตว่า คลื่นความร้อนไม่ได้มีผลมาจากภาวะโลกร้อนโดยตรง เพราะคลื่นความร้อนคือ สภาวะของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยจะมีสภาพอากาศที่สูงกว่า ปรกติ หรือพูดอีกอย่างได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในรอบปี และมักจะเกิดขึ้นเสมอๆในฤดูร้อน โดยอุณหภูมิอาจจะสูงขึ้นกว่าปรกติถึง 30 องศาเซลเซียสได้เลยที่เดียว  และแม้ความคิด เห็นกับประเด็นดังกล่าวของนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แจ้งชัดนักว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากสภาวะโลกร้อนหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เราเห็นเหมือนกัน  ก็คือว่าหากมีการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของโลกอันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อนแล้วมนุษย์เราคงต้องประสบชะตากรรม เดียวกันกับการเกิดคลื่นความร้อน หากยังจำกันได้ในปีพ.ศ. 2546 เกิดคลื่นความร้อนที่ถือว่าสูงทีที่สุดในรอบ 150 ปี ในแถบประเทศยุโรปและในคราวนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 40,000 ราย เลยทีเดียว

                                        
                                                         ธารน้ำในอลาสก้า ปี 1980
                                                         ภาพจาก www.nasa.gov

                     เมื่อธารนำแข็งเกือบทุกแห่งทั่วโลกพร้อมใจกันละลายเพราะอุณหภูมิที่เพิ่มสูง ขึ้น  ในบ้างพื้นที่เช่นแถบขั้วโลกเหนือเราก็จะเห็นต้นไม้ที่เคยทรงตัวตรงตะ หง่านกลับโงนเงนคล้ายมึนเมาเสียเต็มประดา เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะการหยั่งรากของมันลงไปในชั้นดินซึ่งมีน้ำแข็งเป็น ส่วนประกอบ เมื่อเกิดการละลายของน้ำแข็งในชั้นดินจึงทำให้มันมีสภาพโงนเงนดังกล่าวแถม บ้านพักอาศัยในแถบนั้นก็มีสภาพไม่แตกต่างกัน

                     ในปี พ.ศ.2545 เกิดเหตุการณ์สำคัญเช่นการ ที่แผ่นน้ำแข็ง”วอร์ดฮันต์”ในประเทศแคนาดาซึ่งถือว่าเป็นแผ่นน้ำแข็งที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแตกออกเป็นสองส่วนหรือ ”ลาร์เซน-บี” แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่กว้า 48 กิโลเมตร ยาว 240 กิโลเมตร แตกออกจากขั้วโลกใต้กลายเป็นภูเขาน้ำแข็งหลายก้อนลอยอยู่ในทะเลและทั้งหมด ละลายกลายเป็นน้ำภายในไม่กี่วันนอกจากนี้แล้ว ดาวเทียมขององค์การนาซ่ายังตรวจพบว่าแผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ละลายกลายเป็น น้ำ31 พันล้านตันต่อปี

                                        
                                                               ธารน้ำในอลาสก้า ปี 2005
                                                              ภาพจาก www.nasa.gov

                     เมื่อน้ำแข็งในพื้นที่ต่างๆ ละลายพร้อมกันนั้นย่อมเป็นสัญญาณว่าจะทำให้ระดับน้ำในทะเลเพิ่มสูงขึ้นอีก มาก แม้การละลายการละลายของก้อนน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรจะไม่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเฉกเช่นเดียวกับการ ละลายของก้อนน้ำแข็งในแก้วน้ำที่ไม่ทำให้ปริมาตรเปลี่ยนแปลงไป แต่การละลายของธารน้ำแข็งและน้ำแข็งในชั้นดินต่างๆย่อมส่งผลโดยตรงต่อระดับ น้ำทะเล และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลนี้เองที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งรวมไป ถึงการรุกเข้าพื้นที่ซึ่งมีความสูงไม่มากนักในบริเวณชายฝั่งตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซ้ำยังก่อให้เกิดปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็มในพื้นที่ของแหล่งน้ำจืดอีกด้วย

                     ในระยะนี้เราอาจจะเห็นข่าวเกี่ยวกับภัยธรรมชาติต่างๆเกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น ภัยแล้ง ไฟป่า น้ำท่วม การพังทลายของชั้นดิน และที่เราเห็นกันจนชินตาจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นข่าวรายวัน-รายสัปดาห์ไปแล้วก็ คงจะเป็นภัยจากพายุ ที่มีปริมาณมากขึ้นซ้ำยังรุนแรงกว่าเดิม  เหตุที่เป็นอย่างนี้เพราะว่า การเกิดพายุจะเกิดขึ้นจากการถ่ายเทของสภาพอากาศจากสภาพความเย็นไปหาสภาพความ ร้อน เมื่อโลกเราร้อนขึ้นทำให้มีความชื้นมากขึ้นสภาพภูมิอากาศมี อุณหภูมิและความดันอากาศที่แตกต่างกันจึงเป็นเหตุผลให้เกิดพายุบ่อยครั้งและ รุนแรงยิ่งขึ้น

                                        
                                                   พายุมีแนวโน้มที่เกิดบ่อยและรุนแรงขึ้น
                                                    http://www.dailynews.co.th

                     ไม่เพียงเท่านั้นภาวะโลกร้อนยังสามารถทำลายทัศนียภาพอันสวยงามของท้องทะเลลง ได้ดังเช่นปรากฏการณ์ปะการังฟอกสีซึ่งพบเห็นในหลายๆประเทศรวมทั้งประเทศไทย ของเราเองก็เจอผลกระทบนี้เช่นกัน ปะการังฟอกสีคือ ปรากฏการณ์ที่เมื่อน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้สาหร่ายต่างๆที่เป็น อาหารของปะการังไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และเมื่อปะการังไม่มีอาหารก็จะทำ ให้ตัวมันเองตายไปด้วยทำให้ปะการังที่เคยมีสีสันสวยงามกลับกลายเป็นปะการัง ที่ซีดขาวไร้สีสัน

                     ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนไม่ใช่แค่เพียงการส่งผลในท้องทะเล ผืนดิน และสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ปรากฏการณ์โลกร้อนยังส่งผลไปถึง ดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งปรกติบรรยากาศชั้นนอกของโลกจะมีเพียงแค่เบา บาง แรงดึงดูดจึงยังส่งผลให้ดาวเทียมสามารถโคจรไปได้อย่างช้าๆ แต่เมื่อมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซต์เป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศที่ อยู่ต่ำกว่า จึงทำให้แรงดึงดูดของโลกกับชั้นบรรยากาศชั้นสูงลดกำลงและเป็นสาเหตุให้ดาว เทียมโคจรเร็วกว่าปรกติ

                     มีเหตุการณ์หรือผลกระทบอีกมากมายที่เกิดจากภาวะโลกร้อนที่เรากำลังประสบอยู่ คำถามตามมาว่านักวิทยาศาสตร์รู้ได้อย่างไร นอกจากการวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผลแล้วนักวิทยาศาสตร์ยังได้ใช้การเก็บรวบ รวมของสภาพภูมิอากาศของโลก  สภาพพื้นผิวโลก อุณหภูมิของโลก เป็นต้ นแล้วใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลออกมาถึงความน่าจะเป็นต่างๆ ซึ่งเป็นการศึกษาที่เรียกว่า การศึกษาจากแบบจำลองภูมิศาสตร์ (Climate model) 

                     แบบจำลองทางด้านภูมิศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ผู้สนใจใช้ในการศึกษาเรื่องของปฎิกริยาเรือนกระจกกันมากที่สุดคือ แบบจำลองการหมุนเวียนของภูมิอากาศทั่วไป (General Circulation Models) หรือ GCMs แบบจำลองประเภทนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศได้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ แต่การใช้แบบจำลองดังกล่าวก็มีข้อจำกัดอยู่ที่ว่าโลกของเรามีความสลับซับ ซ้อนของภูมิอากาศมากการคาดคะเนต่อความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นการยากแต่ GCMs ก็ถือว่าเป็นแบบจำลองที่น่าเชื่อถือที่สุดเกี่ยวกับปฎิกริยาเรือนกระจกในขณะ นี้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้อาศัยแบบจำลองดังกล่าวทำนายเหตุการณ์ในอนาคตไว้หลาย เหตุการณ์หากมนุษย์ยังไม่สามารถรับมือกับสภาวะโลกร้อนได้ เช่น

                                         
                                                    เราทุกคนมีส่วนในการดูแลโลกใบนี้
                                                    ภาพจาก www.rajinibon.ac.th
                      
                     -  การเพิ่มของอุณหภูมิ ในกลางศตวรรษหน้าโลกเราจะมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นถึง 2-3 องศาเซลเซียส โดยอัตราดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มของอุณหภูมิบริเวณเส้นรุ้งที่อยู่ใกล้เส้น ศูนย์สูตร แต่ในบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นราว 10 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว
                     -  การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล แม้น้ำทะเลสูงขึ้นแต่เพียงอย่างเดียวก็จะก่อให้เกิดการขยายตัวของน้ำทะ และเมื่อนำมารวมกับการที่ธารน้ำแข็งต่างๆละลายไหลลงสู่มหาสมุทรด้วยแล้วจะทำ ให้ ในปี พศ.2596 ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 3 นิ้ว ในปี 2643 ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกว่า 6 นิ้ว  แต่ในแบบจำลองบางแบบระบุว่า ระดับน้ำทะเลจะสูงเพิ่มขึ้นถึง 15-24 นิ้วเลยทีเดียว

                     - การเปลี่ยนแปลงของหยาดน้ำฟ้า  โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงสู่พื้นโลกจะเพิ่มมากขึ้นทำให้อุณหภูมิบริเวณผิว ดินสูงขึ้นและน้ำจะระเหยจากผิวดินมากขึ้นทำให้นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ว่าใน อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเอเชียและอเมริกาหน้าจะประสบกับภัยแล้ง

                     - ความแห้งแล้งและการเกิดไฟป่าจะมีมากขึ้น

                     - การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและความผันผวนของสภาพอากศ  แบบจำลองดังกล่าวได้ทำนายว่าฤดูร้อนจะยาวนานขึ้นในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง รวมไปถึงสภาวะที่เกิดพายุบ่อนครั้งขึ้นและรุนแรงขึ้นกว่าเดิมซึ่งเราก็พอจะ ได้เห็นเค้าลางของความรุนแรงของมันมาบ้างแล้ว

                     - ฯลฯ

                                          ยังมีผลกระทบอีกมากมายที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ปัญหาเรื่องโลกร้อนไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่งหรือไม่ใช่เรื่องของประเทศ ใดประเทศหนึ่งแต่เป็นเรื่องของประชากรชาวโลกที่ต้องดูแลรับผิดชอบร่วมกัน เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดจากผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้น ย่อมส่งผลให้กับเราไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในธรรมชาติทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกี่ยวพันกันเป็นเส้นใยของธรรมชาติที่เชื่อม โยงสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นก็ย่อมส่งผลกระทบ ให้กับทุกอย่างที่อยู่ในธรรมชาติดังนั้นเรามิอาจจะเพิกเฉยและนิ่งดูดายได้ อีกต่อไป .....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น